กิจกรรม 15-19 พฤศจิกายน 2553

ตอบ 4.
อธิบาย ระบบนิเวศ (Ecosystem)หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต
ทั้งในด้านโครงสร้าง และหน้าที่ ระบบนิเวศมีขนาดต่างๆ กัน ตั้งแต่ขนาดเล็กมากเท่าหยดน้ำจากสระน้ำหยดหนึ่ง (สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในนั้น) จนถึงขนาดใหญ่มากเท่ามหาสมุทร ระบบนิเวศทุกขนาดประกอบขึ้นเป็นโลกเรา

ที่มา http://student.nu.ac.th/u46411054/lesson2.htm

ตอบ 3.
อธิบาย ก็ได้ทราบกันอยู่แล้วว่าว่าพืชมีหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ  สามารถนำพลังงานแสงมาตรึงคาร์บอนไดออกไซด์และสร้างเป็นอาหารเก็บไว้ในรูปสารอินทรีย์ โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง  นอกจานี้ยังทราบอีกว่าในใบพืชมีคลอโรฟิลล์  ซึ่งจำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง  และผลผลิตที่ได้คือ  คาร์โบไฮเดรต น้ำ และออกซิเจนและยังได้ทราบว่าพืชมีโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการทำงานได้อย่างไร
ที่มา http://nd-biology.tripod.com/mysite/nd_biology_11.html

ตอบ 2.
อธิบาย CFCs หรือ Chlorofluoro carbons  คือก๊าซที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา  ก๊าซเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในอากาศตามธรรมชาติ  CFCs คือมลพิษในอากาศที่เป็นเคมี  เมื่อก๊าซเหล่านี้ขึ้นไปถึงชั้นโอโซนสูงในบรรยากาศของเราจะทำลายโอโซนนั้น
 เมื่อ CFCs  เข้าสู่บรรยากาศ  จะทำลายออกซิเจนที่ก่อให้เกิดชั้นโอโซน  ทำให้โอโซนถูกทำลาย  บรรยากาศชั้นโอโซนก็ลดลง  ทำให้รังสีอุตราไวโอเล็ตสามารถส่งมาถึงพื้นโลกได้โดยผ่านช่องต่าง ๆ  ในชั้นโอโซน    หลายปีที่ผ่านมาเราใช้ CFCs  ในกระป๋องสเปรย์เพื่อสูบเอาของเหลวออกมาในรูปของละอองหรือหมอกบาง ๆ  ก๊าซนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อของเหลวที่อยู่ในกระป๋องแต่อย่างใด  มีหลายประเทศรวมทั้งสหรัฐฯ  ที่ไม่ใช้ CFCs  ในกระป๋องสเปรย์อีกแล้ว และมีหลายประเทศที่กำลังจะเลิกใช้  นอกจากนี้ยังมีแหล่งที่มาอื่น ๆ ของ CFCs  อีกซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อชั้นโอโซน

ที่มา http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi3/air-energy/cfcs.htm

ตอบ 4.
อธิบาย ไวรัสทั่วไปตามธรรมชาติจำเป็นต้องเข้าไปเจริญและทวีแพร่พันธุ์ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น   โดยยีนของไวรัสและยีนของเซลล์ที่เพาะเลี้ยงไวรัสต้องมีกลไกสอดคล้องต้องกัน  ไวรัสจะสามารถเจริญแพร่พันธุ์สร้างไวรัสใหม่ได้หรือไม่   ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์และชนิดของไวรัส   ดังนั้น  แต่ละชนิดของไวรัสจึงทำให้เกิดโรคเฉพาะมนุษย์   สัตว์  แมลง พืช  สาหร่ายสีน้ำ เงิน  รา  หรือบัคเตรีต่างๆ กัน
ที่มา http://guru.sanook.com/encyclopedia/การเจริญพันธุ์ของไวรัส/


ตอบ 1.
อธิบาย
คลอโรพลาสต์ ( chloroplaast) เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติคมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติค จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ ( chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส ถ้าพลาสติคนั้นไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ ( leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี ( starch grains) เรียกว่า amyloplast
ที่มา http://student.nu.ac.th/phitsanu_edu/cell_plant.htm

ตอบ 1.
อธิบาย
2.ออสโมซิส คือ การแพร่ของน้ำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ มีทิศทางจากบริเวณที่มีอนุภาคนน้ำมากไปน้อย
  ***การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารละลายรอบเซลล์โดย
          -สารละลายที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าภายในเซลล์ เรียกว่า 
สารละลายไฮโพโทนิค          -สารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่าภายในเซลล์ เรียกว่า  สารละลายไฮเพอร์โทนิค          -สารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากันกับสารละลายภายในเซลล์เรียกว่า  สารละลายไอโซโทนิค
ที่มา http://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=236341&chapter=2

ตอบ 3.
อธิบาย
การลำเลียงแบบฟาซิลิเทต คือ การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์โดยใช้โปรตีนตัวพาเป็นตัวนำสารผ่านเข้าออกเซลล์  มีทิศทางจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารมากไปน้อย  เช่น การลำเลียงกลูโคส กรดอะมิโน ไอออนต่างๆ เป็นต้น
ที่มา http://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=236341&chapter=2

ตอบ 1.
อธิบาย น้ำปัสสาวะเป็นของเหลวที่ผลิตจากไต มีสีค่อนข้างเหลือง มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 95% และมีของแข็งประมาณ 5% ในจองแข็งที่เป็นส่วนประกอบมีทั้งส่วนที่เป็นสารอินทรีย์และ ส่วนที่เป็นสารอนินทรีย์ ได้แก่ ยูเรีย แอมโมเนีย น้ำตาล โซเดียม คลอไรด์ แคลเซี่ยม และแมกนี
เซี่ยมเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกรดไขมันบางชนิด และฮอร์โมนบางชนิดด้วย สีของน้ำปัสสาวะเป็นสี ที่เกิดจากน้ำดี ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำปัสสาวะจะขึ้นกับปริมาณของเกลือแร่หรือแร่ธาตุต่างๆ และปริมาณน้ำที่เป็นส่วนประกอบ

ที่มา http://om-yim-waan.blogspot.com/2009/05/blog-post_16.html

ตอบ 4.
อธิบาย ผิวหนังปกคลุมห่อหุ้มร่างกายทั้งหมด ซึ่งภายในมีปลายประสาทรับความรู้สึกมากมาย เพื่อรับรู้การสัมผัส การกดความเจ็บ และอุณหภูมิร้อนเย็น ระบบผิวหนังมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และยังมีหน้าที่เป็นอวัยวะขับเหงื่อและไขมันด้วย
ที่มา http://guru.sanook.com/encyclopedia/ระบบผิวหนัง/


ตอบ 3.
อธิบาย โปรโตซัวและสัตว์หลายเซลล์ชั้นต่ำบางชนิด ไม่มีอวัยวะทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่เป็นของเหลว ของเสียดังกล่าวสามารถซึมผ่านผิวเซลล์ออกสู่น้ำที่อยู่นอกตัวมันได้โดยตรงอย่างไรก็ตาม มีเซลล์เดียวหลายชนิดที่มีโครงร่างในเซลล์เรียก คอนแทรกไทล์แวคิวโอล ทำหน้าที่สำหรับขจัดของเสียที่เป็นของเหลวจากเซลล์  โดยดูดของเหลวที่เป็นของเสียมาสะสมเอาไว้  และเมื่อมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยไปจนถึงขีดหนึ่ง จะบีบตัวขับของเหลวในแวคิวโอลออกสู่ภายนอกเซลล์ ดังนั้น คอนแทรกไทล์แวคิวโอล จึงทำหน้าที่กำจัดน้ำที่มีมากเกินต้องการออกนอกร่างกาย และบางส่วนของของเสียที่เกิดจากเมตาโปลิซึมของโปรตีนก็อาจขับออกทางนี้ได้ด้วย
ที่มา http://guru.sanook.com/search/คอนแทรกไทล์แวคิวโอล_(Contractile_Vacuole)_ของโปรโตซัว
ตอบ 2
อธิบาย
  เมื่อร่างกายได้รับความร้อนจากสิ่งแวดล้อม  จนทำให้อุณหภูมิที่ผิวหนังกับอุณหภูมิของเลือดสูงกว่าปกติศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายที่สมองส่วนไฮโพทาลามัสจะกระตุ้นให้เกอดกระบวนการต่างๆ  เพื่อปรับอุณหภูมิของร่างกายให้กลับเป็นปกติ  มีการลดอัตราเมแทบอลิซึมลดความการเผาผลาญอาหารในเซลล์ตับและเซลล์ไขมันหลอดเลือกฝอยบริเวณผิวหนังจะขยายตัว   เพื่อช่วยถ่ายเทความร้อนในร่างการสู่สิ่งแวดล้อม  มีการกระตุ้นการทำงานของต่อมเหงื่อให้ขับเหงื่อเพิ่มขึ้นกล้ามเนื้อที่ยึดโคนเส้นขนในผิวหนังจะคลายตัว  เราจึงเห็นขนเอนราบติดผิวหนัง  ช่วยให้อากาศไหลเวียนบริเวณผิวหนังได้ดีขึ้นความร้อนจึงถ่ายเทสู่สิ่งแวดบ้องได้มากขึ้น
ที่มา http://km.vcharkarn.com/other/mo6/48-2010-06-30-08-15-30

ตอบ  3.
คำอธิบาย
พ.ญ.สิริพร กัญชนะ ประธานศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวถึงข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ว่า จะส่งผลให้เด็กไทยมีสุขภาพที่ดีเมื่อเติบโตขึ้น นมแม่จะช่วยลดความเสี่ยงลดโอกาสของการเกิด 3 โรคร้าย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคอ้วนได้ ซึ่งจะลดโอกาสการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเส้นโลหิตอุดตันเมื่อสูงวัย
ที่มา 
http://www.thaihealth.or.th/node/5514


ตอบ 1.
อธิบาย คือการที่ร่างกายสามารถป้องกันหรือต่อต้านโรคใดโรคหนึ่งโดยเฉพาะได้ โดยร่างกายจะสร้าง สารประเภทโปรตีนที่เรียกว่าแอนติบอดี(Antibody) ไว้ในเลือด เพื่อทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม ที่เข้าสู่ร่างกาย แอนติบอดีอาจมีเพียงชั่วคราวหรือตลอดไปก็ได้ สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายเราเรียกว่า แอนติเจน (Antigent) ภูมิคุ้มกันโรคแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ที่มา http://www.wt.ac.th/~somyos/ya/ya000003.html
ตอบ  2.
คำอธิบาย
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis) เป็น การแบ่งเซลล์เพศ (sex call) 
ในสัตว์จะพบการแบ่งเซลล์
แบบไมโอซิสในรังไข่ และอัณฑะ ในพืชพบในเรณูหรือรังไข่เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธ์

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/32/2/genetic/content/meiosis%2002.html

ตอบ 4.
อธิบาย กรดนิวคลีอิก ( nucleic acid ) เป็นสารชีวโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุ์กรรมของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไปให้แสดงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและกระบวนการต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต  
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/สารพันธุกรรม
ตอบ 3.
อธิบาย การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของคน ทำได้โดยการสืบประวัติครอบครัวซึ่งมีลักษณะที่ต้องการศึกษาหลายๆชั่วอายุคน ดังที่นักเรียนทำในกิจกรรม 4.1 จากนั้นนำมาเขียนแผนผังแสดงบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดลักษณะที่ศึกษาเรียกแผนผังดังกล่าวว่า เพดดิกรี(pedigree)โดยใช้สัญลักษณ์แทนบุคคลต่างๆทั้งผู้ที่แสดงและไม่แสดงลักษณะที่กำลังศึกษา หากลักษณะใดมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพดดิกรีจะช่วยให้สังเกตเห็นแบบแผนการถ่ายทอดได้ง่ายขึ้น และอาจช่วยให้บอกได้ว่าลักษณะนั้นๆ เป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะด้อย เป็นลักษณะพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับเพศใดเพศหนึ่งเป็นพิเศษหรือไม่  นักเรียนจะได้ศึกษาตัวอย่างเพดดิกรีของลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ต่อไป
ที่มา http://km.vcharkarn.com/other/mo6/56-2010-07-14-09-20-24
ตอบ 3.
อธิบาย
 ยีน คือ หน่วยพันธุกรรมที่กำหนดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ มนุษย์ เช่น ในมนุษย์กำหนดสี และลักษณะของ ผิว ตา และผมความสูง ความฉลาด หมู่เลือด ชนิดของฮีโมโกลบิน รวมทั้งโรคบางอย่าง เป็นต้น ยีนที่ควบคุมกำหนดลักษณะต่างๆ ในร่างกายจะเป็นคู่ ข้างหนึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากพ่อ อีกข้างหนึ่งได้รับมาจากแม่ สำหรับผู้มียีนธาลัสซีเมีย(Thalassemia) มีได้สองแบบคือ

ที่มา http://www.thaibiotech.info/what-is-gene.php
ตอบ  1
อธิบาย
โครโมโซมเพศ sex chromosomes

 โครโมโซมของคน 23 คู่นั้น เป็น ออโตโซม 22คู่ อีก1คู่เป็น โครโมโซมเพศ 
ที่มา http://www.snr.ac.th/elearning/siriporn/sec01p03.html
ตอบ 1
อธิบาย
การพบโรคนี้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมักเป็นกับแบบ แดง-เขียวแทบทั้งหมด เนื่องจากว่ายีน ที่ควบคุมการสร้างรงควัตถุรับสีชนิดสีแดง และสีเขียวนั้น (red-pigment gene, green-pigment gene) อยู่บนโครโมโซม X เมื่อยีนนี้ขาดตกบกพร่องไปในคนใดคนหนึ่ง ก็จะทำให้คนนั้นสามารถรับรู้ สีเหล่านั้นได้ลดลงกว่าคนปกติแน่นอนว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นน้อยกว่าเนื่องจากในผู้หญิงมีโครโมโซม X ถึงสองตัว ถ้าเพียงแต่ X ตัวใดตัวหนึ่งมียีนเหล่านี้อยู่ ก็สามารถรับรู้สีได้แล้ว ในขณะที่ผู้ชาย มีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว อีกตัวเป็น Y ซึ่งไม่ได้มีแพคเกจบรรจุยีนนี้แถมมาด้วย ;) ก็จะแสดง อาการได้เมื่อ X ตัวเดียวเท่าที่มีอยู่นั้นบกพร่องไป



ตอบ 3
อธิบาย  ลักษณะของยีนส์ ในกรุ๊ปเลือดต่างๆ (โดยยีนส์นั้นเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสร้าง Antigen นั้นๆบนผิวเม็ดเลือดแดง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น